0938794565 CS.ASP@HOTMAIL.COM

ไดคัท (Die-Cut)

การไดคัท (Die-Cut) เป็นการตัดขอบกระดาษที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้ เพราะสามารถช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับชิ้นงานของเราได้ไม่น้อย 
อีกทั้งเชื่อว่ามีหลายคนคงเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ เวลาที่สั่งงานกับโรงพิมพ์ว่าต้องการสติ๊กเกอร์ไดคัทไหม ? ดังนั้นบทความนี้ Atsecurityprinting จะพาไปทำความรู้จักกับการไดคัทให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีข้อดีอย่างไร นิยมใช้ในการลักษณะไหน

ไดคัท คืออะไร ?

ไดคัท (Die-Cut) คือ การตัดขอบกระดาษให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามที่เราต้องการ ซึ่งไม่ใช่แค่การตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม หรือวงกลมแบบธรรมดาทั่วไป จะหยักจะโค้งอย่างไรก็ได้ ซึ่งการไดคัทนั้นสามารถช่วยเพิ่มความสวยงามให้กับงานพิมพ์ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นงานที่พิมพ์ด้วยระบบดิจิตอล หรืองานพิมพ์แบบออฟเซ็ท ก็สามารถไดคัทออกมาได้อย่างสวยงาม

รูปแบบการไดคัทที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

การปั๊มไดคัท 100% 

การปั๊มไดคัท 100% คือ การปั๊มให้ขาดเป็นชิ้น ๆ เช่น งานสติ๊กเกอร์ดวงใหญ่ที่ผลิตจากสติ๊กเกอร์ PP, สติ๊กเกอร์ PVC, สติ๊กเกอร์ PET ฯลฯ งานกระดาษ งานฉลากสินค้า งานกล่องบรรจุภัณฑ์ หรืองานแผ่นพลาสติ๊ก

คลิกอ่านเพิ่มเติม : สติ๊กเกอร์ PP กับ PVC ต่างกันอย่างไร แต่ละแบบมีลักษณะอย่างไรบ้าง

การปั๊มไดคัท 50% 

การปั๊มไดคัท 50% คือ การปั๊มเฉพาะเนื้อสติ๊กเกอร์เท่านั้น ส่วนที่เป็นกระดาษรองหลังจะไม่ขาดออกมา เมื่อปั๊มเสร็จแล้วก็สามารถลอกออกมาใช้งานได้ในทันที

การไดคัทรูปตรงต่าง ๆ 

การไดคัทรูปตรงต่าง ๆ คือ การไดคัทตามรูปทรงที่ออกแบบเอาไว้ เช่น รูปดอกไม้ รูปการ์ตูน วงกลม วงรี สามเหลี่ยม หรือรูปทรงอื่น ๆ

การไดคัทสี่เหลี่ยมมุมมน 

การไดคัทสี่เหลี่ยมมุมมน คือ การไดคัทที่จะใช้บล็อกใส่มีดสี่เหลี่ยมมุมมนปั๊มลงไป ทำให้งานที่ได้จะมีมุมมนทันที

การไดคัทสี่เหลี่ยม 

การไดคัทสี่เหลี่ยม คือ การไดคัทที่ใช้บล็อกใส่มีดสี่เหลี่ยมปั๊มลงไป ช่วยทำให้งานทุกชิ้นออกมามีขนาดที่เท่ากันที่ชิ้น

ข้อดีของการทำไดคัท ที่ช่วยภาพง่ายต่อการนำไปใช้งาน

ข้อดีของการทำไดคัท ที่ช่วยภาพง่ายต่อการนำไปใช้งาน

การไดคัทเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ชิ้นงานของเรามีความสวยงามเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว ช่วยทำให้ชิ้นงานมีความโดดเด่นมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ด้วยระบบดิจิตอลหรืองานพิมพ์ออฟเซ็ท อีกทั้งการไดคัทก็ยังสามารถยกระดับการออกแบบ ช่วยทำให้นักออกแบบสามารถสร้างสรรค์ผลงานไปสู่อีกระดับหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นมิติ ความลึก หรือความน่าดึงดูด

งานแบบไหนที่นิยมทำการไดคัท

สำหรับงานที่ได้รับความนิยมในการทำไดคัทนั้น มีหลากหลายอย่างเป็นอย่างมาก เช่น งานสติ๊กเกอร์, สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม, ภาพกราฟฟิก, การ์ด, สมุดโน้ต, ปฏิทิน, โปรชัวร์, ป้ายสินค้าติดชั้นวางสินค้า, นามบัต , งานพิมพ์ป้านแท็ก, งานกล่องกระดาษ, ที่คั่นหนังสือ, ป้ายแขวนลูกบินประตู, งานพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ หรือแม้แต่การทำ Pop up ก็นิยมใช้เทคนิคการไดคัท เพื่อทำให้ชิ้นงานมีความสวยงาม โดดเด่น มีสไตล์และน่าสนใจด้วยเช่นกัน

คลิกอ่านเพิ่มเติม : สติ๊กเกอร์โฮโลแกรม (Sticker Hologram) คืออะไร

วัสดุที่สามารถทำไดคัทสินค้าได้

วัสดุที่สามารถทำไดคัทสินค้าได้

1.โฟมบอร์ดและพีพีบอร์ด

สำหรับการการไดคัทโฟมบอร์ดและพีพีบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เครื่องตัดอัตโนมัติ หรือเครื่องกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งจะไม่ใช่การใช้บล็อกในการไดคัท และใช้เวลาในการไดคัทมากกว่าการใช้บล็อก เนื่องจากการไดคัทด้วยโฟมบอร์ดและพีพีบอร์ดนั้นสามารถไดคัทได้ทีละ 1 ชิ้นเท่านั้น

2.สติ๊กเกอร์และกระดาษ

การไดคัทด้วยกระดาษและสติ๊กเกอร์นั้นเรียกอีกอย่างง่าย ๆ ว่าการปั๊มไดคัท ซึ่งทางโรงงานจะทำบล็อกขึ้นมาก่อน โดยยึดตามแบบที่ถูกออกแบบขึ้นมา ใช้ใบมีดที่สามารถคัดโค้งงอได้แล้วจึงทำการปั๊มไดคัทตามรูปแบบ เช่น แท็กติดสินค้า มุมนามบัตร สติ๊กเกอร์การ์ตูนต่าง ๆ 

เชื่อว่าเมื่ออ่านบทความนี้จบทุกคนก็คงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับการไดคัทมากขึ้น ต่อไปเวลาไปสั่งงานโรงพิมพ์แล้วมีเซลล์ถามว่าต้องการไดคัทไหม เราก็จะได้สามารถตอบได้อย่างมั่นใจเลยว่าต้องการไดคัทหรือไม่ และควรไดคัทงานแบบไหนดีให้เหมาะกับการใช้งานมากที่สุด

ปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

ให้คำแนะนำฟรี เกี่ยวกับการผลิตสติ๊กเกอร์โฮโลแกรม สติ๊กเกอร์ม้วน สติ๊กเกอร์กันปลอมทุกรูปแบบ

——-
Facebook : www.facebook.com/asp.holograms
Line@ : คลิกแอดเพื่อน !!
โทร : 093 879 4565 (ฝ่ายขาย)
โทรสำนักงานใหญ่ : 02 117 4332

LINE-LOGO

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า